บล๊อคเกอร์นี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ดป็นตัวอย่างในการทำงานและการเรียนการสอนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

สโมสร บาร์เซโลนา


ชื่อเต็มฟุบบอลกลุบบาร์เซโลนา (คาตาลัน: Futbol Club Barcelona)
ฉายาL'equip blaugrana (ทีม)
Culers หรือ Culos (ผู้สนับสนุน)
Blaugranes หรือ Azulgranas (ผู้สนับสนุน)
ก่อตั้ง29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1899
ในชื่อ Foot-Ball Club Barcelona
สนามกีฬากัมนอว, บาร์เซโลนา
(ความจุ: 99.354)
ประธานซานโดร โรเซลล์
ผู้จัดการชูเซบ กวาร์ดีโอลา
ลีกลาลีกา
2010–11อันดับ 1
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
ผู้ทำประตูสูงสุด
ตลอดกาล
เซซาร์ โรดรีเกซ (235)
สีชุดทีมเหย้า
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา (คาตาลัน: Futbol Club Barcelona) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าบาร์เซโลนา หรือคุ้นเคยในอีกชื่อว่า บาร์ซา (คาตาลัน: Barça) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพสเปน ตั้งอยู่ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน เล่นอยู่ในลาลีกา
สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาเป็นผู้ชนะเลิศในถ้วยยุโรปและสเปนปัจจุบัน เป็นสโมสรสเปนที่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลสเปน ในแง่ของจำนวนถ้วยรางวัลภายในประเทศและทุกถ้วย โดยชนะในการแข่งลาลีกา 21 ครั้ง ชนะในโกปาเดลเรย์ 25 ครั้ง ชนะในซูเปร์โกปาเดเอสปาญา 10 ครั้ง ชนะในโกปาเอบาดัวร์เต 3 ครั้ง และได้รางวัล โกปาเดลาลีกา 2 ถ้วย นอกจากนี้ยังเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในยุโรป โดยได้ชนะเลิศในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 4 ครั้ง, ชนะในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 4 ครั้ง ชนะในยูฟ่าซูเปอร์คัพ 4 ครั้ง และชนะฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 1 ครั้ง พวกเขายังถือสถิติชนะในอินเตอร์-ซิตีส์แฟร์สคัป 3 ครั้ง ถ้วยต้นแบบของยูฟ่าคัพ
นอกจากนั้นยังเป็นสโมสรยุโรปสโมสรเดียวที่แข่งในฟุตบอลระหว่างทวีปในทุกฤดูกาลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 และเป็น 1 ใน 3 สโมสรที่ไม่เคยตกชั้นในลาลีกา ร่วมกับทีมแอทเลติกบิลบาโอและเรอัลมาดริด ในปี ค.ศ. 2009 เป็นสโมสรสเปนสโมสรแรกที่ได้ถือครองแชมป์ 3 รางวัล คือ ลาลีกา, โกปาเดลเรย์ และแชมเปียนส์ลีก และในปีเดียวกันนี้ยังเป็นสโมสรฟุตบอลสโมสรแรกที่ชนะในการแข่งขัน 6 รางวัลในปีเดียวกัน เพิ่มอีก 3 ถ้วยคือ ซูเปร์โกปาเดเอสปาญา, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ

ก่อตั้งในชื่อ ฟุตบอลคลับบาร์เซโลนา ใน ค.ศ. 1899 โดยกลุ่มของนักฟุตบอลสวิสอังกฤษ และ สเปน นำโดยชูอัง กัมเปร์ สโมสรถือเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมคาตาลันและนิยมคาตาลัน โดยมีคำขวัญทางการว่า "Més que un club" (แปลว่า มากกว่าสโมสร) ส่วนเพลงประจำสโมสรคือเพลง "กันต์เดลบาร์ซา" เขียนโดย เคาเม ปีกัส และ ชูเซบ มารีอา เอสปีนัส และที่แตกต่างจากสโมสรอื่นคือ ผู้สนับสนุนทีมเป็นเจ้าของและบริหารทีมบาร์เซโลนา ถือเป็นสโมสรฟุตบอลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกเป็นอันดับ 2 ในด้านของรายได้ ที่มีรายได้ประจำปี 398 ล้านยูโร สโมสรยังเป็นคู่ปรับอันยาวนานกับเรอัลมาดริดและนัดการแข่งขันระหว่างสองทีมนี้เรียกว่า "เอลกลาซีโก"


ประวัติ

จุดกำเนิดของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา (1899–1922)

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1899 ฮันส์ กัมเปร์ ได้ลงประกาศโฆษณาใน โลสเดปอร์เตส ว่ามีความต้องการที่จะก่อตั้งสโมสรฟุตบอล โดยได้รับการตอบรับอย่างดีในการนัดพบกันที่คิมนาเซียวโซเล เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน โดยมีผู้เล่น 11 คนมาร่วมได้แก่ วอลเตอร์ ไวลด์ (ผู้บริหารคนแรกของสโมสร), ลุยส์ ดีออสโซ, บาร์โตเมว เตร์ราดัส, ออตโต กุนเซิล, ออตโต แมเยอร์, เอนริก ดูกัล, เปเร กาบอต, กาเลส ปูคอล, ชูเซป โยเบต, จอห์น พาร์สันส์ และ วิลเลียม พาร์สัน ทำให้ ฟุตบอลคลับบาร์เซโลนา ก็ถือกำเนิดขึ้นมา
สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประสบความสำเร็จในช่วงแรกกับการแข่งขันถ้วยท้องถิ่นและระดับชาติ ได้ลงแข่งในกัมเปียนัตเดกาตาลันและถ้วยโกปาเดลเรย์ ในปี ค.ศ. 1902 สโมสรชนะถ้วยแรกในถ้วยโกปามากายา และร่วมลงแข่งในโกปาเดลเรย์ครั้งแรก แต่แพ้ 1–2 ให้กับบิซกายา ในนัดชิงชนะเลิศกัมเปร์ได้เป็นประธานสโมสรในปี ค.ศ. 1908 แต่สโมสรมีปัญหาด้านการเงินเนื่องจากไม่สามารถชนะการแข่งขันได้ตั้งแต่กัมเปียนัตเดกาตาลัน ในปี ค.ศ. 1905 เขาเป็นประธานสโมสรใน 5 วาระในระหว่างปี ค.ศ. 1908 ถึง 1925 รวม 25 ปี ที่เขาดำรงตำแหน่งประธานสโมสร หนึ่งในความสำเร็จคือการทำให้สโมสรมีสนามกีฬาของตัวเอง ทำให้มีรายได้ที่มั่นคง
เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1909 สโมสรได้ย้ายไปสนามกัมป์เดลาอินดุสเตรีย ที่มีที่นั่งจุ 8,000 คน จากปี ค.ศ. 1910 ถึง 1914 บาร์เซโลนาได้ร่วมลงแข่งในถ้วยพิเรนีส ที่ประกอบด้วยทีมที่ดีที่สุดของล็องด็อก, มีดี, อากีแตน (ฝรั่งเศสใต้), บาสก์ และ คาเทโลเนีย ในเวลานั้นถือเป็นการแข่งขันที่ดีที่สุดที่เปิดให้เข้าแข่งขัน ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สโมสรได้เปลี่ยนภาษาอย่างเป็นทางการของสโมสรจากภาษาคาสติเลียนสเปน (Castilian Spanish) เป็นภาษาคาตาลัน และค่อย ๆ เพิ่มความสำคัญให้กับสัญลักษณ์ที่สำคัญของอัตลักษณ์คาตาลัน เพื่อให้แฟนที่สนับสนุนสโมสรแต่ไม่รู้ว่าจะทำอะไรระหว่างการแข่งขันและเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์กลุ่มของสโมสร
กัมเปร์ได้รณรงค์หาสมาชิกสโมสรเพิ่ม และในปี ค.ศ. 1922 สโมสรมีสมาชิกมากกว่า 20,000 คนและมีฐานะการเงินเพียงพอที่จะสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ สโมสรได้ย้ายไปเลสกอตส์ โดยเปิดสนามใหม่ในปีเดียวกันนี้ เดิมทีเลสกอตส์จุผู้ชมได้ 22,000 คน และต่อมาขยายเพิ่มเป็น 60,000 คนแจ็ก กรีนเวลล์ เป็นผู้จัดการเต็มเวลาคนแรกของสโมสรและสโมสรได้เริ่มต้นพัฒนา ในช่วงระหว่างยุคของกัมเปร์ สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาชนะถ้วยกัมเปียนัตเดกาตาลัน 11 ครั้ง ถ้วยโกปาเดลเรย์ 6 ครั้ง และถ้วยพิเรนีส 4 ครั้ง ถือเป็นยุคทองยุคแรกของสโมสร

รีเบรา, สาธารณรัฐ และ สงครามกลางเมือง (1923–1957)

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1925 ฝูงชนที่สนามกีฬาร้องเพลงชาติในการประท้วงต่อระบอบเผด็จการของมีเกล เด รีเบรา สนามถูกปิดไป 6 เดือนจากการโต้ตอบด้วยกำลังทหาร และกัมเปร์ถูกบีบให้ถอนตัวจากการเป็นประธานสโมสร จากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับสโมสรสู่ความเป็นมืออาชีพ โดยในปี ค.ศ. 1926 ผู้บริหารบาร์เซโลนาออกมาประกาศต่อสาธารณะว่าบาร์เซโลนาก้าวสู่มืออาชีพเป็นครั้งแรก สโมสรชนะการแข่งขันถ้วยสเปน มีการแต่งบทกวีเพื่อเฉลิมฉลองในชื่อ "โอดาอาปลัตโก" เขียนขึ้นโดยสมาชิกกลุ่มเจเนอเรชันออฟ '27 ที่ชื่อ ราฟาเอล อัลเบร์ตี ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก "วีรกรรม" ของผู้รักษาประตูบาร์เซโลนา เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 กัมเปร์ฆ่าตัวตายหลังจากความเครียดที่มาจากปัญหาส่วนตัวและปัญหาด้านการเงิน
ถึงแม้ว่าพวกเขาจะยังมีผู้เล่นในการดำรงตำแหน่งของ ชูเซบ เอสโกลา แต่สโมสรก็ถึงยุคแห่งการเสื่อมถอย เนื่องจากความขัดแย้งในเรื่องการเมืองที่ลดความสำคัญด้านกีฬาลง ถึงแม้ว่าสโมสรจะได้ถ้วยกัมเปียนัตเดกาตาลันในปี ค.ศ. 1930, 1931, 1932, 1934, 1936, และ 1938 ที่ประสบความสำเร็จในระดับประเทศ (ยกเว้นข้อพิพาทเรื่องการชนะในปี ค.ศ. 1937) จากนั้น 1 เดือนหลังสงครามกลางเมืองสเปนเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1936 นักฟุตบอลหลายคนจากบาร์เซโลนาและแอทเลติกบิลบาโอก็เข้าเป็นทหารเพื่อต่อสู้กับการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ชูเซบ ซุนยอล ประธานสโมสรและตัวแทนพรรคสนับสนุนการเมืองเสรี ถูกฆาตกรรมโดยทหารกลุ่มฟาลังเคใกล้กับเมืองกวาดาร์รามา ขนานนามความทุกข์ทรมานในช่วงนี้ของประวัติศาสตร์สโมสรบาร์เซโลนาว่า บาร์เซโลนิสเม (สเปน: barcelonisme) ฤดูร้อนปี ค.ศ. 1937 ผู้เล่นได้เดินทางไปแข่งขันที่เม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ในนามสาธารณรัฐสเปนครั้งที่ 2 การออกแข่งขันนี้ทำให้การเงินของสโมสรมั่นคงขึ้น แต่ก็เป็นผลให้ครึ่งหนึ่งของทีมหาทางลี้ภัยในเม็กซิโกและฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1938 เมืองบาร์เซโลนาถูกโจมตีทางอากาศ มีผู้เสียชีวิต 3,000 คน ระเบิดหนึ่งลูกโจมตีสำนักงานของสโมสร คาเทโลเนียเข้าดูแลอีกหลายเดือนต่อมา และในฐานะสัญลักษณ์ของคาตาลันนิยมที่ไม่มีการดูแล ทำให้สโมสรมีสมาชิกลดลงเหลือ 3,486 คน หลังจากสงครามการเมือง มีการสั่งห้ามธงชาติคาตาลันและสโมสรฟุตบอลที่ไม่ได้ใช้ชื่อสเปน เป็นผลบังคับให้สโมสรต้องเปลี่ยนชื่อเป็น กลุบเดฟุตบอลบาร์เซโลนา (สเปน: Club de Fútbol Barcelona) และเอาธงคาตาลันออกจากตราสโมสร
ในปี ค.ศ. 1943 บาร์เซโลนาเผชิญกับคู่แข่ง เรอัลมาดริด ในรอบรองชนะเลิศของโกปาเดลเคเนราลีซีโม นัดแรกแข่งที่เลสกอตส์ บาร์เซโลนาชนะ 3–0 ก่อนการแข่งในนัดที่ 2 จอมพลฟรันซิสโก ฟรังโกเข้าเยี่ยมห้องเปลี่ยนชุดของทีมบาร์เซโลนา ฟรังโกเข้าเตือนพวกเขาว่าที่เขาเล่นได้นั้นเนื่องจาก "เป็นความกรุณาต่อระบอบการปกครอง" ในนัดถัดมาเรอัลมาดริดชนะการแข่งขันขาดลอย 11–1 ถึงแม้ว่ามีความลำบากในสถานการณ์การเมือง แต่บาร์เซโลนาก็ยังประสบความสำเร็จในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 และ 1950 ในปี ค.ศ. 1946 ชูเซบ ซามีเตียร์ ผู้จัดการทีมและผู้เล่นอย่าง เซซาร์, รามัลเลตส์ และ เบลัสโก นำบาร์เซโลนาชนะในลาลีกาครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929 และยังชนะอีกครั้งในปี ค.ศ. 1948 และอีกครั้งใน ค.ศ. 1949 พวกเขายังได้รับรับถ้วยละตินคัปครั้งแรกในปีนั้น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1950 ได้เซ็นลาดิสเลา คูบาลา ซึ่งถือว่าเป็นผู้มีอิทธิพลให้การก่อร่างสร้างตัวของสโมสร
ในวันอาทิตย์ที่ฝนตกของปี ค.ศ. 1951 กลุ่มคนออกจากสนามกีฬาเลสกอตส์ด้วยเท้าเปล่า หลังจากสโมสรชนะราซิงเดซานตันเดร์ โดยปฏิเสธการขึ้นรถรางและสร้างความประหลาดใจให้กับเจ้าหน้าที่ของจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก การประท้วงรถรางเกิดขึ้นในบาร์เซโลนาซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากแฟนทีมบาร์เซโลนา เหตุการณ์ที่เกิดเช่นนี้ทำให้แสดงให้เห็นความเป็นอะไรที่มากกว่าคาเทโลเนีย ชาวสเปนหัวก้าวหน้ามองว่าสโมสรเป็นผู้พิทักษ์ซึ่งซื่อสัตย์ต่อสิทธิและเสรีภาพ
ผู้จัดการ เฟอร์ดินานด์ เดาชีก (สโลวัก: Ferdinand Daučík) และลัสโซล คูบาลานำทีมให้ได้รับถ้วย 5 รางวัล รวมถึงในลาลีกา, โกปาเดลเคเนราลีซีโม (ต่อมาใช้ชื่อว่า โกปาเดลเรย์), ละตินคัป, โกปาเอบาดัวร์เต และโกปามาร์ตีนีรอสซี ในปี ค.ศ. 1952 ต่อมาในปี ค.ศ. 1953 สโมสรชนะในลาลีกาและโกปาเดลเคเนราลีซีโม อีกครั้ง

กลุบเดฟุตบอลบาร์เซโลนา (1957–1978)

Barcelona stadium seen from above. It is a large and asymmetrically shaped dome.
สนามกีฬากัมนอว สนามการแข่งขันของสโมสรที่เริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ. 1957 ด้วยทุนจากผู้สนับสนุนสโมสร
ด้วยการนำทีมของผู้จัดการเอเลเนียว เอร์เรรา กับนักฟุตบอลยอดเยี่ยมยุโรปแห่งปี ค.ศ. 1960 ลุยส์ ซัวเรส และนักฟุตบอลชาวฮังการี 2 คนที่ได้รับคำแนะนำจากคูบาลา คือ ซันดอร์ คอชซิส (ฮังการี: Sándor Kocsis) และซอลตัน ซีบอร์ (ฮังการี: Zoltán Czibor) ที่ทำให้ทีมได้ชนะการแข่งขันระดับชาติ 2 รางวัลในปี ค.ศ. 1959 และในลาลีกาและอินเตอร์-ซิตีส์แฟส์คัป ในปี ค.ศ. 1960 และในปี ค.ศ. 1961 พวกเขาเป็นทีมแรกที่ชนะเรอัลมาดริดได้ในการแข่งขันยูโรเปียนคัป แต่ก็แพ้ให้กับไบฟีกาในรอบชิงชนะเลิศ
ในคริสต์ทศวรรษ 1960 สโมสรประสบความสำเร็จน้อยลง เรอัลมาดริดถือครองแชมป์แต่เพียงผู้เดียว สนามกีฬาของสโมสรกัมนอวสร้างเสร็จใน ค.ศ. 1957 ซึ่งหมายถึงสโมสรมีเงินไม่มากที่จะซื้อตัวผู้เล่นใหม่ส่วนในด้านบวกแล้ว เป็นทศวรรษแห่งการแจ้งเกิดของ ชูเซบ มาเรีย ฟุสเต และ กาเลส เรชัก สโมสรชนะในถ้วยโกปาเดลเคเนราลีซีโม ในปี ค.ศ. 1963 และถ้วยแฟส์คัปใน ค.ศ. 1966 สโมสรกลับมาเล่นได้ดีอีกครั้งในการชนะคู่แข่งเดิม เรอัลมาดริด โดยชนะ 1–0 ในถ้วยโกปาเดลเคเนราลีซีโมปี ค.ศ. 1968 ในนัดตัดสินที่สนามเบร์นาเบวต่อหน้าจอมพลฟรังโก โดยการนำทีมของอดีตนักบินสาธารณรัฐ ซัลบาดอร์ อาร์ตีกัส ในฐานะผู้จัดการทีม เมื่อจบยุคระบอบเผด็จการของจอมพลฟรังโก ในปี ค.ศ. 1974 สโมสรก็ได้เปลี่ยนชื่อทางการเป็น ฟุบบอลกลุบบาร์เซโลนา และเปลี่ยนตราสัญลักษณ์สโมสรมาเป็นแบบเดิม กับตัวอักษรดั้งเดิม
ในฤดูกาล 1973–74 สโมสรซื้อตัว โยฮัน ครัฟฟ์ จากอาแจ็กซ์ ด้วยค่าตัว 920,000 ปอนด์ ถือเป็นสถิติโลกในสมัยนั้น ซึ่งเป็นนักฟุตบอลที่เป็นที่ยอมรับอยู่แล้วในฮอลแลนด์ ครัฟฟ์ได้สร้างความประทับใจอย่างรวดเร็วให้กับแฟนสโมสร เมื่อเขาบอกกับสื่อยุโรปว่าที่เขาเลือกบาร์เซโลนา มากกว่าที่จะเลือกเรอัลมาดริดเพราะว่า เขาไม่สามารถเล่นกับสโมสรที่เกี่ยวข้องกับจอมพลฟรังโกได้ เขายังเป็นที่โปรดปรานเมื่อเขาตั้งชื่อลูกชายในภาษาคาตาลันว่า คอร์ดี (Jordi) ตามชื่อนักบุญท้องถิ่น อีกทั้งยังมีนักฟุตบอลคุณภาพอย่าง ควน มานวยล์ อาเซนซี, การ์เลส เรซัก, และ อูโก โซติล ก็ทำให้ให้ทีมชนะในลาลีกาในฤดูกาล 1973–74 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 โดยชนะเรอัลมาดริด 5–0 ที่สนามเบร์นาเบว ขณะแข่งขัน ครัฟฟ์ยังได้รับเลือกเป็นนักฟุตบอลยุโรปยอดเยี่ยมแห่งปี ค.ศ. 1973 สำหรับฤดูกาลแรกของเขากับบาร์เซโลนา (เป็นการได้รับบัลลงดอร์ครั้งที่ 2 ของเขา ครั้งแรกได้รับขณะเล่นให้กับอาแจ็กซ์ในปี ค.ศ. 1971) ครัฟฟ์ยังได้รับรางวัลนี้อีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 (เป็นคนแรกที่ทำได้) ในปี ค.ศ. 1974 ขณะที่เขายังเล่นให้กับบาร์เซโลนา

นูเญซและปีแห่งความมั่นคง (1978–2000)

       เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1979 สโมสรชนะในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพครั้งแรก โดยชนะทีมฟอร์ทูนาดึสเซลดอร์ฟ 4–3 ในนัดชิงชนะเลิศที่แข่งที่เมืองบาเซิล ที่มีผู้ชมแฟนสโมสรเดินทางมาชมมากกว่า 30,000 คน ต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1982 มาราโดนาเซ็นสัญญาด้วยค่าตัวสถิติโลกสมัยนั้น กับจำนวนเงิน 5 ล้านปอนด์ กับสโมสรฟุตบอลโบคาจูเนียส์ ในฤดูกาลถัดมา ภายใต้การดูและของผู้จัดการทีม เมนอตตี บาร์เซโลนาชนะการแข่งขันโกปาเดลเรย์โดยชนะเรอัลมาดริด ในยุคของมาราโดนากับบาร์ซาค่อนข้างสั้น ต่อมาไม่นานเขาก็ย้ายไปอยู่กับนาโปลีในการเริ่มฤดูกาล 1984–85 สโมสรได้จ้างเทอร์รี เวเนเบิลส์เป็นผู้จัดการทีม และเขาสามารถนำทีมชนะในลาลีกาได้ พร้อมกับลูกทีมจากการนำโดยกองกลางชาวเยอรมัน แบร์นด์ ชุสเทอร์ ในฤดูกาลถัดมาสโมสรเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศในถ้วยยุโรปอีกครั้ง แต่ก็แพ้ไปในการยิงจุดโทษกับสโมสรฟุตบอลสแตอาวาบูคูเรชตี (โรมาเนีย: Steaua Bucureşti) ที่เมืองเซบียา
ในปี ค.ศ. 1978 ชูเซบ ยุยส์ นูเญซ เป็นประธานสโมสรที่ได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกสโมสร การเลือกตั้งเช่นนี้ใกล้เคียงกับการเปลี่ยนแปลงของสเปนที่เปลี่ยนมาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี ค.ศ. 1974 หลังจบสิ้นระบบเผด็จการของจอมพลฟรังโก เป้าหมายหลักของนูเญซคือการพัฒนาบาร์ซาสู่สโมสรระดับโลกโดยให้ความมั่นคงกับสโมสรทั้งในและนอกสนาม จากคำแนะนำของ ครัฟฟ์ นูเญซได้เลือกลามาซีอาเป็นสถาบันเยาวชนของบาร์เซโลนาเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1979 เขาดำรงตำแหน่งประธานเป็นเวลานาน 22 ปี และมีผลต่อภาพลักษณ์ของบาร์เซโลนาอย่างมาก นูเญซได้ถือนโยบายอย่างเคร่งครัดที่เกี่ยวข้องกับค่าจ้างทำงานและวินัย โดยให้ค่าตัวนักฟุตบอลอย่าง เดียโก มาราโดนา, โรมารีอู, โรนัลโด เท่ากับจำนวนเงินที่พวกเขาต้องการ
หลังฟุตบอลโลก 1986 ผู้ทำประตูสูงสุด แกรี ไลน์เคอร์ ได้เซ็นสัญญากับสโมสร พร้อมกับผู้รักษาประตู อันโดนี ซูบีซาร์เรตา แต่สโมสรก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่ากับเมื่อมีชุสเทอร์ ต่อมาเวเนเบิลส์ถูกไล่ออกเมื่อเริ่มฤดูกาล 1987–88 และได้ลุยส์ อาราโกเนสมาแทน นักฟุตบอลต่อต้านต่อประธานสโมสรนูเญซ ในเหตุการณ์ที่เรียกว่า เอสเปเรีย (สเปน: Hesperia) และจบฤดูกาลด้วยชัยชนะ 1–0 ในการแข่งโกปาเดลเรย์ ชิงชนะเลิศกับเรอัลโซเซียดัด
        บ็อบบี ร็อบสัน เข้ามาแทนที่ครัฟฟ์ในระยะเวลาสั้น ๆ ในฤดูกาล 1996–97 ฤดูกาลเดียว เขานำโรนัลโดมาจากพีเอสวีไอนด์โฮเวิน และยังชนะใน 3 ถ้วยคือ โกปาเดลเรย์, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และซูเปร์โกปาเดเอสปาญา ถึงแม้ว่าการเข้ามาของร็อบสันจะเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น แต่ทางสโมสรก็ยังรอตัวลุยส์ วาน กัล เช่นเดียวกับมาราโดนา โรนัลโดก็ออกจากสโมสรไปไม่นานจากนั้น ไปอยู่กับอินเตอร์มิลาน แต่ก็ได้วีรบุรุษคนใหม่อย่าง ลุยส์ ฟีโก, เปตริก ไคลเฟิร์ท (ดัตช์:Patrick Kluivert), ลุยส์ เอนรีเก และรีวัลดู ที่ทำให้ทีมชนะในโกปาเดลเรย์และลาลีกาในปี ค.ศ. 1998 และในปี ค.ศ. 1999 สโมสรฉลอง 100 ปี เมื่อชนะในปรีเมราดีบีซีออน (ลาลีกา) รีวัลดูเป็นนักฟุตบอลคนที่ 4 ของสโมสรที่ได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรป แต่ถึงแม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการแข่งขันในประเทศ แต่ก็พ่ายให้กับเรอัลมาดริดในแชมเปียนส์ลีก ส่งผลให้วาน กัลและนูเญซลาออกในปี ค.ศ. 2000
ในปี ค.ศ. 1988 โยฮัน ครัฟฟ์ ได้กลับมายังสโมสรในฐานะผู้จัดการทีมและเขาได้รวบรวมทีมที่รู้จักในชื่อ ทีมในฝัน เขาได้รวมนักฟุตบอลสเปนอย่าง ชูเซบ กวาร์ดีโอลา, โคเซ มารี บาเกโร และตซีกี เบกีริสไตน์ และยังเซ็นสัญญากับดาราจากต่างประเทศอย่าง โรนัลต์ คูมัน (ดัตช์: Ronald Koeman), ไมเกิล ลอดรุป (เดนมาร์ก: Michael Laudrup) , โรมารีอู, และฮริสโต ชตอยชคอฟ (บัลแกเรีย: Hristo Stoichkov) ภายใต้คำแนะนำของครัฟฟ์ บาร์เซโลนาชนะในการแข่งขันลาลีกา 4 สมัยติดต่อกัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 ถึง 1994 ชนะซามพ์โดเรียในนัดชิงชนะเลิศทั้งในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 1989 และถ้วยยุโรป 1992 ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ สโมสรยังชนะในโกปาเดลเรย์ ในปี ค.ศ. 1990, ยูฟ่าซูเปอร์คัพในปี ค.ศ. 1992 และชนะในซูเปร์โกปาเดเอสปาญา 3 ครั้ง กับจำนวนถ้วยรางวัล 11 ถ้วย ทำให้ครัฟฟ์เป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดของสโมสรจนถึงวันนี้ เขายังเป็นผู้จัดการทีมที่รับตำแหน่งนี้นานที่สุด เป็นเวลา 8 ปี แต่ชะตาของครัฟฟ์ก็ได้เปลี่ยนไปใน 2 ฤดูกาลท้ายสุดของเขา เมื่อเขาพลาดหลายถ้วย ทำให้เขาต้องออกจากสโมสรไป

เกียรติประวัติ

สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลสเปน ในแง่ของจำนวนถ้วยรางวัลภายในประเทศและทุกถ้วย โดยชนะในการแข่งลาลีกา 21 ครั้ง ชนะในโกปาเดลเรย์ 25 ครั้ง ชนะในซูเปร์โกปาเดเอสปาญา 10 ครั้ง ชนะในโกปาเอบาดัวร์เต 3 ครั้ง และได้รางวัล โกปาเดลาลีกา 2 ถ้วยและยังเป็นผู้ถือครองทั้ง 4 ถ้วยในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในยุโรป โดยได้ชนะเลิศในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 4 ครั้ง, ชนะในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 4 ครั้ง ชนะในยูฟ่าซูเปอร์คัพ 4 ครั้ง และชนะฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 1 ครั้ง พวกเขายังถือสถิติชนะในอินเตอร์-ซิตีส์แฟร์สคัป 3 ครั้ง ถ้วยต้นแบบของยูฟ่าคัพ

นอกจากนั้นยังเป็นสโมสรยุโรปสโมสรเดียวที่แข่งในฟุตบอลระหว่างทวีปในทุกฤดูกาลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 และเป็น 1 ใน 3 สโมสรที่ไม่เคยตกชั้นในลาลีกา ร่วมกับทีมแอทเลติกบิลบาโอและเรอัลมาดริด ในปี ค.ศ. 2009 เป็นสโมสรสเปนสโมสรแรกที่ได้ถือครองแชมป์ 3 รางวัล คือ ลาลีกา, โกปาเดลเรย์ และแชมเปียนส์ลีก และในปีเดียวกันนี้ยังเป็นสโมสรฟุตบอลสโมสรแรกที่ชนะในการแข่งขัน 6 รางวัลในปีเดียวกัน เพิ่มอีก 3 ถ้วยคือ ซูเปร์โกปาเดเอสปาญา, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ

การแข่งขันภายในประเทศ

ลีก

  • ลาลีกา
ชนะเลิศ (21): 1928–1929, 1944–45, 1947–48, 1948–49, 1951–52, 1952–53, 1958–59, 1959–60, 1973–74, 1984–85, 1990–91, 1991–92,1992–93, 1993–94, 1997–98, 1998–99, 2004–05, 2005–06, 2008–09, 2009–10, 2010–11

รองชนะเลิศ (22): 1929–30, 1945–46, 1953–54, 1954–55, 1955–56, 1961–62, 1963–64, 1966–67, 1967–68, 1970–71, 1972–73, 1975–76,1976–77, 1977–78, 1981–82, 1985–86, 1986–87, 1988–89, 1996–97, 1999–00, 2003–04, 2006–07

ถ้วย

  • โกปาเดลเรย์
ชนะเลิศ (25): 1909–10, 1911–12, 1912–13, 1918–19, 1921–22, 1924–25, 1925–26, 1927–28, 1941–42, 1950–51, 1951–52, 1952–53,1956–57, 1958–59, 1962–63, 1967–68, 1970–71, 1977–78, 1980–81, 1982–83, 1987–88, 1989–90, 1996–97, 1997–98, 2008–09
รองชนะเลิศ (9): 1918–19, 1931–32, 1935–36, 1953–54, 1973–74, 1983–84, 1985–86, 1995–96, 2010–11
  • โกปาเดลาลีกา
ชนะเลิศ (2): 1982–83, 1985–86
  • ซูเปร์โกปาเดเอสปาญา
ชนะเลิศ (10): 1983, 1991, 1992, 1994, 1996, 2005, 2006, 2009, 2010, 2011
รองชนะเลิศ (7): 1985, 1988, 1990, 1993, 1997, 1998, 1999
  • โกปาเอบาดัวร์เต (ต้นแบบของ ซูเปร์โกปาเดเอสปาญา)
ชนะเลิศ (3): 1947, 1952, 1952
รองชนะเลิศ (2): 1949, 1951

ยุโรป

  • ถ้วยยุโรป / ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ชนะเลิศ (4): 1991–92, 2005–06, 2008–09, 2010–11
รองชนะเลิศ (3): 1960–61, 1985–86, 1993–94
  • ยูโรเปียนคัพวินเนอร์สคัพ / ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ
ชนะเลิศ (4): 1978–79, 1981–82, 1988–89, 1996–97
รองชนะเลิศ (2): 1968–69, 1990–91
  • อินเตอร์-ซิตีแฟร์สคัพ (ต้บแบบของ ยูฟ่ายูโรปาลีก ถึงแม้ว่าจะไม่ได้จัดโดยยูฟ่า)
ชนะเลิศ (3): 1955–58, 1958–60, 1965–66
รองชนะเลิศ (1): 1961–62
  • ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ / ยูฟ่าซูเปอร์คัพ
ชนะเลิศ (4): 1992, 1997, 2009, 2011
รองชนะเลิศ (4): 1979, 1982, 1989, 2006

ระดับโลก

  • ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก
รองชนะเลิศ (1): 1992
  • ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ
ชนะเลิศ (1): 2009
รองชนะเลิศ (1): 2006

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

หมายเลขตำแหน่งผู้เล่น
1ธงชาติของสเปนGKบิกตอร์ บัลเดส (รองกัปตันทีมที่ 2)
2ธงชาติของบราซิลDFดาเนียล อัลวีส
3ธงชาติของสเปนDFเชราร์ด ปีเก
4ธงชาติของสเปนMFเซสก์ ฟาเบรกัส
5ธงชาติของสเปนDFการ์เลส ปูยอล (กัปตันทีม)
6ธงชาติของสเปนMFชาบี เอร์นันเดซ (รองกัปตันทีม)
7ธงชาติของสเปนFWดาบิด บียา
8ธงชาติของสเปนMFอันเดรส อีเนียสตา (รองกัปตันทีมที่ 3)
9ธงชาติของชิลีFWอาเลกซิส ซานเชซ
10ธงชาติของอาร์เจนตินาFWเลียวเนล เมสซี
11ธงชาติของสเปนMFเตียโก อัลกันตารา
หมายเลขตำแหน่งผู้เล่น
13ธงชาติของสเปนGKโคเซ มานวยล์ ปินโต
14ธงชาติของอาร์เจนตินาMFคาเบียร์ มาเชราโน
15ธงชาติของมาลีMFเซดู แกตา
16ธงชาติของสเปนMFเซร์คีโอ บุสเกตส์
17ธงชาติของสเปนFWเปโดร โรดรีเกซ
19ธงชาติของบราซิลDFมักซ์เวล
20Flag of the NetherlandsMFอิบราฮิม อเฟลไลย์
21ธงชาติของบราซิลDFอาเดรียนู
22ธงชาติของฝรั่งเศสDFเอริก อาบีดาล
24ธงชาติของสเปนDFอันเดรว ฟุนตัส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น