บล๊อคเกอร์นี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ดป็นตัวอย่างในการทำงานและการเรียนการสอนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554











ประวัติฟุตบอลในประเทศไทย


     กีฬาฟุตบอลในประเทศไทย ได้มีการเล่นตั้งแต่สมัย "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสิทร์ เนื่องจากสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ส่งพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานยาเธอ และข้าราชบริพารไปศึกษาวิชาการด้านต่างๆ ที่ประเทศอังกฤษ และผู้ที่นำกีฬาฟุตบอลกลับมายังประเทศไทยเป็นคนแรกคือ"เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)" หรือ ที่ประชนชาวไทยมักเรียกชื่อสั้นๆว่า "ครูเทพ" ซึ่งท่านได้แต่งเพลงกราวกีฬาที่พร้อมไปด้วยเรื่องน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เชื่อกันว่าเพลงกราวกีฬาที่ครูเทพแต่งไว้นี้จะต้องเป็น "เพลงอมตะ" และจะต้องคงอยู่คู่ฟ้าไทย
      เมื่อปี พ.ศ. 2454-2458 ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการครั้งแรก เมื่อท่านได้นำฟุตบอลเข้ามาเล่นในประเทศไทยได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆมากมาย โดยหลายคนกล่าวว่า ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ไม่เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศร้อนเหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศหนาวมากกว่าและเป็นเกมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นและผู้ชมได้ง่ายซึ่งข้อวิจารณ์ดังกล่าวถ้ามองอย่างผิวเผินอาจคล้อยตามได้ แต่ภายหลังข้อกล่าวหาดังกล่าวก็ได้ค่อยหมดไปจนกระทั่งกลายเป็น กีฬายอดนิยมที่สุดของประชาชนชาวไทยและชาวโลกทั่วทุกมุมโลก ซึ่งมีวิวัฒนาการดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้
       พ.ศ. 2440 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จนิวัติพระนคร กีฬาฟุตบอลได้รับความสนใจมากขึ้นจากบรรดาข้าราชการบรรดาครูอาจารย์ ตลอดจนชาวอังกฤษในประเทศไทยและผู้สนใจชาวไทยจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับกอร์ปกับครูเทพท่านได้เพียรพยายามปลูกฝังการเล่นฟุตบอลในโรงเรียนอย่างจริงจังและแพร่หลายมากในโอกาสต่อมา 
      พ.ศ. 2443 (รศ. 119) การแข่งขันฟุตบอลเป็นทางการครั้งแรกของไทยได้เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 (รศ. 119) ณ สนามหลวง ซึ่งเป็นสถานที่ออกกำลังกายและประกอบงานพิธีต่างๆการแข่งขันฟุตบอลคู่ประวัติศาสตร์ของไทย ระหว่าง "ชุดบางกอก" กับ "ชุดกรมศึกษาธิการ" จากกระทรวงธรรมการหรือเรียกชื่อการแข่งขันครั้งนี้ว่า"การแข่งขันฟุตบอลตามข้อบังคับของแอสโซซิเอชั่น" เพราะสมัยก่อนเรียกว่า "แอสโซซิเอชั่นฟุตบอล" (ASSOCIATIONS FOOTBALL) สมัยปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า "การแข่งขันฟุตบอลของสมาคม"หรือ "ฟุตบอลสมาคม" ผลการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษดังกล่าวปรากฏว่า "ชุดกรมศึกษาธิการ" เสมอกับ"ชุดบางกอก" 2-2 (ครึ่งแรก 1-0) ต่อมาครูเทพท่านได้วางแผนการจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนอย่างเป็นทางการพร้อมแปลกติกาฟุตบอลแบบสากลมาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งนี้ด้วย
       พ.ศ. 2444 (รศ. 120) หนังสือวิทยาจารย์ เล่มที่ 1 ตอนที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2444 ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เรื่องกติกาการแข่งขันฟุตบอลสากลและการแข่งขันอย่างเป็นแบบแผนสากล
      การแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งแรกของประเทศไทยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2444 นี้ ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียนชายอายุไม่เกิน 20 ปี ใช้วิธีจัดการแข่งขันแบบน็อกเอาต์ หรือแบบแพ้คัดออก (KNOCKOUT OR ELIMINATIONS) ภายใต้การดำเนินการจัดการแข่งขันของ "กรมศึกษาธิการ" สำหรับทีมชนะเลิศติดต่อกัน 3 ปี จะได้รับโล่รางวัลเป็นกรรมสิทธิ์
        พ.ศ. 2448 (รศ. 124) เดือนพฤศจิกายน สามัคยาจารย์ สมาคม ได้เกิดขึ้นครั้งแรกเป็นการแข่งขันฟุตบอลของบรรดาครูและสมาชิกครู โดยใช้ชื่อว่า "ฟุตบอลสามัคยาจารย์"
        พ.ศ. 2450-2452 (รศ. 126-128) ผู้ตัดสินฟุตบอลชาวอังชื่อ "มร.อี.เอส.สมิธ" อดีตนักฟุตบอลอาชีพได้มาทำการตัดสินในประเทศไทย เป็นเวลา 2 ปี ทำให้คนไทยโดยเฉพาะครู-อาจารย์ และผู้สนใจได้เรียนรู้กติกาและสิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาก
        พ.ศ. 2451 (รศ. 127) มีการจัดการแข่งขัน "เตะฟุตบอลไกล" ครั้งแรก
        พ.ศ. 2452 (รศ. 128) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสวรรคต เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2452 นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของผู้สนับสนุนฟุตบอลไทยในยุคนั้นซึ่งต่อมาในปีนี้ กรมศึกษาธิการก็ได้ประกาศใช้วิธีการแข่งขัน "แบบพบกันหมด" (ROUND ROBIN) แทนวิธีจัดการแข่งขันแบบแพ้คัดออกสำหรับคะแนนที่ใช้นับเป็นแบบของแคนาดา (CANADIAN SYSTEM) คือ ชนะ 2 คะแนน เสมอ 1คะแนน แพ้ 0 คะแนน และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
        ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีความสนพระทัยกีฬาฟุตบอลเป็นอย่างยิ่งถึงกับทรงกีฬาฟุตบอลเอง และทรงตั้งทีมฟุตบอลส่วนพระองค์เองชื่อทีม "เสือป่า" และได้เสด็จพระราช ดำเนินประทับทอดพระเนตรการแข่งขันฟุตบอลเป็นพระราชกิจวัตรเสมอมาโดยเฉพาะมวยไทยพระองค์ทรงเคย ปลอมพระองค์เป็นสามัญชนขึ้นต่อยมวยไทยจนได้ฉายาว่า"พระเจ้าเสือป่า" พระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถมาก จนเป็นที่ยกย่องของพสกนิกรทั่วไปจนตราบเท่าทุกวันนี้
จากพระราชกิจวัตรของพระองค์รัชกาลที่ 6 ทางด้านฟุตบอลนับได้ว่าเป็นยุคทองของไทยอย่างแท้จริงอีกทั้งยังมีการเผยแพร่ข่าวสาร หนังสือพิมพ์ และบทความต่างๆทางด้านฟุตบอลดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้
         พ.ศ. 2457 (รศ. 133) พระยาโอวาทวรกิจ" (แหมผลพันชิน) หรือนามปากกา "ครูทอง" ได้เขียนบทความกีฬา"เรื่องจรรยาของผู้เล่นและผู้ดูฟุตบอล" และ "คุณพระวรเวทย์ พิสิฐ" (วรเวทย์ ศิวะศริยานนท์) ได้เขียนบทความกีฬา "เรื่องการเล่นฟุตบอล" และ "พระยาพาณิชศาสตร์วิธาน" (อู๋ พรรธนะแพทย์) ได้เขียนบทความกีฬาที่ประทับใจชาวไทยอย่างยิ่ง "เรื่องอย่าสำหรับนักเลงฟุตบอล"
           พ.ศ. 2458 (รศ. 134) ประชาชนชาวไทยสนใจกีฬาฟุตบอลอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก กรมศึกษาธิการได้พัฒนาวิธีการเล่น วิธีจัดการแข่งขัน การตัดสิน กติกาฟุตบอลที่สากลยอมรับตลอดจนระเบียบการแข่งขันที่รัดกุมยิ่งขึ้น และผู้ใหญ่ในวงการให้ความสนใจอย่างแท้จริงนับตั้งแต่พระองค์รัชกาลที่ 6 เองลงมาถึงพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงสามัญชน และชาวต่างชาติ และในปี พ.ศ. 2458 จึงได้มีการแข่งขันฟุตบอลประเภทสโมสรครั้งแรกเป็นการชิงถ้วยพระราชทานและเรียกชื่อการแข่งขันฟุตบอลประเภทนี้ว่า "การแข่งขันฟุตบอลถ้วยทองของหลวง" การแข่งขันฟุตบอลสโมสรนี้เป็นการแข่งขันระหว่างทหาร-ตำรวจ-เสือป่า ซึ่งผู้เล่นจะต้องมีอายุเกินกว่าระดับทีมนักเรียน นับว่าเป็นการเพิ่มประเภทการแข่งขันฟุตบอล
         ราชกรีฑาสโมสร หรือสปอร์ตคลับ นับได้ว่าเป็นสโมสรแรกของไทยและเป็นศูนย์รวมของชาวต่างประเทศในกรุงเทพฯ ซึ่งยังอยู่ในปัจจุบัน และสโมสรสปอร์ตคลับเป็นศูนย์กลางของกีฬาหลายประเภท โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลได้มีผู้เล่นระดับชาติจากประเทศอังกฤษมาเข้าร่วมทีมอยู่หลายคนเช่น มร.เอ.พี.โคลปี. อาจารย์โรงเรียนราชวิทยาลัย นับได้ว่าเป็นทีมฟุตบอลที่ดี มีความพร้อมมากทั้งทางด้านผู้เล่นงบประมาณและสนามแข่งขันมาตรฐาน จึงต้องเป็นเจ้าภาพให้ทีมต่างๆของไทยเรามาเยือนอยู่เสมอทำให้วงการฟุตบอลไทยในยุคนั้นได้พัฒนายิ่งขึ้น และรัชกาลที่ 6 ทรงสนพระทัยโดยเสด็จมาเป็นองค์ประธานพระราชทานรางวัลเป็นพระราชกิจวัตร ทำให้ประชาชนเรียกการแข่งขันสมัยนั้นว่า"ฟุตบอลหน้าพระที่นั่ง" และระหว่างพักครึ่งเวลามีการแสดง "พวกฟุตบอลตลกหลวง"นับเป็นพิธีชื่นชอบของปวงชนชาวไทยสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง และการแข่งขันฟุตบอลสโมสรครั้งแรกนี้ มีทีมสมัครเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 12 ทีม ใช้เวลาในการแข่งขัน 46 วัน (11 ก.ย.-27 ต.ค. 2458) จำนวน 29 แมตช์ ณ สนามเสือป่า ถนนหน้าพระลาน สวนดุสิต กรุงเทพมหานครหรือสนามหน้ากองอำนวนการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติปัจจุบันพระองค์รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการแข่งขันนับว่าฟุตบอลไทยมีระบบในการบริหารมานานนับถึง 72 ปีแล้ว
             ความเจริญก้าวหน้าของฟุตบอลภายในประเทศได้แผ่ขยายกว้างขวางทั่วประเทศไปสู่สโมสรกีฬา-ต่างจังหวัดหรือชนบทอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปภายใต้การสนับสนุนของรัชกาลที่ 6 และพระองค์ท่านทรงเล็งเห็นกาลไกลว่าควรที่ตะตั้งศูนย์กลางหรือสมาคมอย่างมีระบบแบบแผนที่ดีโดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมและทรงมีพระบรมราชโองการก่อตั้ง "สโมสรคณะฟุตบอลสยาม" ขึ้นมาโดยพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเล่นฟุตบอลเอง
        รัชกาลที่ 6 ได้ทรงมีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามดังนี้คือ 1. เพื่อให้ผู้เล่นฟุตบอลมีพลานามัยที่สมบูรณ์ 2. เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคี 3. เพื่อก่อให้เกิดไหวพริบและเป็นกีฬาที่ประหยัดดี 4. เพื่อเป็นการศึกษากลยุทธ์ในการรุกและการรับเช่นเดียวกับกองทัพทหารหาญ
        จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว นับเป็นสิ่งที่ผลักดันให้สมาคมฟุตบอลแห่งสยามดำเนินกิจการเจริญก้าวหน้ามาจนตราบถึงทุกวันนี้ ซึ่งมีกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลดังนี้ พ.ศ. 2458 (ร.ศ. 134) การแข่งขันระหว่างชาติครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร(สนามม้าปทุมวันปัจจุบัน) ระหว่าง "ทีมชาติสยาม" กับ "ทีมราชกรีฑาสโมสร" ต่อหน้าพระที่นั่ง และมี "มร.ดักลาส โรเบิร์ตสัน" เป็นผู้ตัดสิน ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมชาติสยามชนะทีมราชกรีฑาสโมสร 2-1 ประตู (ครึ่งแรก 0-0) และครั้งที่ 2 เมื่อวันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2458เป็นการแข่งขันระหว่างชาตินัดที่ 2 แบบเหย้าเยือนต่า หน้าพระที่นั่ง ณ สนามเสือป่าสวนดุสิตและผลปรากฏว่า ทีมชาติสยามเสมอกับทีมราชกรีฑา สโมสร หรือทีมรวมต่างชาติ 1-1 ประตู (ครึ่งแรก 0-0)

วิวัฒนาการของฟุตบอล


ภาคตะวันออกไกล
ขงจื้อได้กล่าวไว้ในหนังสือ "กังฟู" เกี่ยวกับกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่ใช้เท้า
และศีรษะในสมัยจักรพรรดิ์ เซิงติ (Emperor Cneng Ti) (ปี 32 ก่อนคริสตกาล) มีการเล่นกีฬาที่คล้ายกับฟุตบอลซึ่งเรียกว่า"ซือ-ซู" (Tsu-Chu) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกหนังด้วยเท้า กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่งนักประพันธ์และนักประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นได้ยกย่อง ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เป็นวีรบุรุษของชาติ และในสมัยเดียวกันได้มีการเล่นคล้ายฟุตบอลใน ประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย


ภาคตะวันออกกลางในกรุงโรม ความเจริญของตะวันออกไกลได้แผ่ขยายถึงตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอิทธิพลของสงครามโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช การเล่นกีฬาชนิดหนึ่งเรียกว่า ฮาร์ปาสตัม เป็นกีฬาที่นิยมของชาวโรมันและชาวกรีกโบราณวิธีการเล่นคือ มีประตูคนละข้าง แล้วเตะลูกบอลไปยังจุดหมายที่ต้องการ เช่นจากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง การเล่นจะเป็นการเตะ หรือการขว้างไปข้างหน้าฮาร์ปาสตัมหมายถึงการเหวี่ยงไปข้างหน้า การเล่นกีฬาฮาร์ปาสตัมในกรุงโรมดูเหมือนจะเป็นต้นกำเนิดของกีฬาซึ่งมีการเล่นในสมัยกลางในการเล่นฮาร์ปาสตัม ขนาดของสนามจะเล็กกว่าสนามกีฬาซูเลอ แต่จุดประสงค์ของกีฬาทั้งสอง คือ การนำลูกบอล ไปยังแดนของตน แต่เนื่องจากมีเสียงอึกทึกโครมครามจากการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า จึงมีพระบรมราชโองการในนามของพระเจ้าแผ่นดินห้ามเล่นกีฬาดังกล่าวในเมือง ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงจำคุก นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามซึ่งออกในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.1892 ขอให้เล่นยิงธนูในวันฉลองต่าง ๆ แทนการเล่นเกมฟุตบอลในโอกาสต่อมากีฬาฟุตบอลได้จัดให้มีการแข่งขันกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างทีมต่างๆ ที่อยู่ห่างกันประมาณ 3-4 ไมล์ ( 5-6.5 กิโลเมตร- )
ในปี พ.ศ. 2344 กีฬาชนิดนี้ได้ขัดเกลาให้ดีขึ้น มีการกำหนดจำนวนผู้เล่นให้เท่ากันในแต่ละข้างขนาดของสนามอยู่ในระหว่าง 80 - 100 หลา (73-91 เมตร) และมีประตูทั้งสองข้างที่ริมสุดของสนามซึ่งทำด้วยไม้ 2 อัน ห่างกัน 2-3 ฟุต
ในปี พ.ศ. 2366 ได้จัดให้มีการเล่นฟุตบอลในรูปแบบของการเล่นใน ปัจจุบัน William Aliceคือผู้เริ่มวางกฎบังคับต่างๆ สำหรับกีฬาฟุตบอลและรักบี้ ในปี พ.ศ. 2393 ได้มีการออกระเบียบและกฎของการเล่นไปสู่ ดินแดนต่างๆ ให้ปฏิบัติตาม โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นให้มีข้างละ 15-20 คน
ในปี พ.ศ. 2413 มีการกำหนดผู้เล่นให้เหลือข้างละ 11 คน โดยมีผู้เล่นกองหน้า 9 คน และผู้เล่นรักษาประตู 2 คน โดยผู้รักษาประตูใช้เท้าเล่นเหมือน 9 คนแรกจนกระทั่งให้เหลือผู้รักษาประตู 1 คน แต่อนุญาตให้ใช้มือจับลูกบอลได้ในปี พ.ศ. 2423
ในปี พ.ศ. 2400 สโมสรฟุตบอลได้ก่อตั้งเป็นครั้งแรกที่เมืองเซนพัสด์ประเทศอังกฤษและต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สโมสรฟุตบอล 11 แห่งได้มารวมกันที่กรุงลอนดอนเพื่อก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น ซึ่งถือเป็นรากฐานในการกำเนิดสมาคมแห่งชาติ จนถึง 140 สมาคม และทำให้ผู้เล่นฟุตบอลต้องเล่นตามกฎและกติกาของสมาคมฟุตบอล จนเวลาผ่านไปจากคำว่าAssociation ก็ย่อเป็น Assoc และกลายเป็น Soccer ขึ้นในที่สุด ซึ่งนิยมเรียกกันในประเทศอังกฤษ แต่ชาวอเมริกันเรียกว่า Football หมายถึง American football

ภายนอกเกาะอังกฤษ พวกกะลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า วิศวกร หรือแม้แต่นักบวชได้นำกีฬาชนิดนี้

ไปเผยแพร่ ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่ 2 ในยุโรป

ในอเมริกาใต้ สโมสรแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศอาร์เจนตินา เมื่อพี่น้องชาวอังกฤษ 2 คน ได้ลงข้อความโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของเมืองบูเอโนสไอเรส (Buenos Aires) เพื่อ หาผู้อาสาสมัคร

ในปี พ.ศ. 2427 กีฬาฟุตบอลก็กลายมาเป็นวิชาหนึ่งในโรงเรียนของเมืองบูเอโนสไอเรส
การแข่งขันระดับชาติครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ คือ การแข่งขันระหว่างอาร์เจนตินากับอุรุกวัย
ในปี พ.ศ.2448 แต่อเมริกาเหนือเริ่มแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2435

ในอิตาลี ฮาร์ปาสตัมเป็นต้นกำเนิดจิโอโค เดล คาลซิโอ ผู้เล่นกีฬาจะเป็นผู้นำทางสังคม

หรือแม้แต่ผู้นำชั้นสูงของศาสนา เช่นสันตปาปา เกลาเมนต์ที่ 7 ลีออนที่ 10 และเออร์เบนที่ 7
เป็นถึงแชมเปี้ยนในกีฬาฟลอเรนไทน์ฟุตบอล ต่อมาชาวโรมันได้ดัดแปลงเกมการเล่นฮาร์ปาสตัมเสียใหม่ โดยกำหนดให้ใช้เท้าแตะลูกบอลเท่านั้น ส่วนมือให้ใช้เฉพาะการทุ่มลูกบอล ซึ่งนักรบชาวโรมัน นิยมเล่นกันมาก

กีฬาฮาร์ปาสตัมซึ่งมีต้นกำเนิดจากสมัยโรมันได้ถูกแปลงมาเป็นกีฬาซูลอหรือซูเลอ

กีฬาชนิดนี้เหมือนกับฮาร์ปาสตัม คือ นำลูกบอลกลับไปยังแดนของตน แต่สนามมีขนาดกว้างกว่ามากการเล่นซูเลอมักจะมีขึ้นในบ่ายวันอาทิตย์หลังการสวดมนต์เย็น จะมีการแข่งขันสำคัญในช่วงเวลาดีคาร์นิวาลกีฬาชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเขตปริตานีและมอร์ลังดี กีฬานี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังอังกฤษโดยผู้ติดตามของวิลเลี่ยมผู้พิชิตภายหลัง การรบที่เฮสติ้ง (Hasting)

เมื่อ 900 ปีกว่ามาแล้ว ประเทศอังกฤษได้ตกอยู่ในความปกครองของพวกเคนส์ เชื้อสายโรมัน
ซึ่งยกกองทัพมาตีหมู่เกาะอังกฤษตอนใต้ และได้ปกครองเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 1589 อังกฤษเริ่มเข้มแข็งขึ้น และสามารถขับไล่พวกเคนส์ออกจากประเทศได้ หลังจากนั้น 2-3 ปี อังกฤษจึงเริ่มปรับปรุงประเทศเป็นการใหญ่มีการขุดอุโมงค์ตามพื้นที่หลายแห่ง ซึ่งในการขุดอุโมงค์คนงานคนหนึ่งได้ขุดไปพบกะโหลกศีรษะในบริเวณที่เคยเป็นสนามรบ และเป็นที่ฝังศพของพวกเคนส์มาก่อนทุกคนในที่นั้นแน่ใจว่าเป็นกะโหลกศีรษะของพวกเคนส์ อารมณ์แค้นจึงเกิดขึ้นทันทีเมื่อต่างคนต่างคิดถึงเหตุการณ์ที่ถูกพวกเคนส์กดขี่ทารุณจิตใจคนอังกฤษในสมัยนั้นด้วยเหตุผลนี้ คนงานคนหนึ่งจึงเตะกะโหลกศีรษะนั้นทันที ส่วนคนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นก็พากันหยุดงานชั่วคราว แล้วหันมาเตะกะโหลกศีรษะเป็นการใหญ่ เพื่อระบายอารมณ์แค้นที่เก็บไว้อย่างสนุกสนาน ผลที่สุดเมื่อพวกนี้หากะโหลกศีรษะเตะกันไม่ได้ก็เอาถุงลมของวัวมาทำเป็นลูกกลมขึ้นเตะแทนกะโหลกศีรษะ ปรากฏว่าเป็นที่รื่นเริงสนุกสนามกันมากต่อมาชาวโรมันได้นำเกมนี้ไปเล่นในอังกฤษ จากนั้นชาวอังกฤษก็ได้ปรับปรุงวิธีการเล่นเทคนิคการเล่น ตลอดจนกติกาให้เหมือนในสมัยปัจจุบัน คือเกมฟุตบอลที่ใช้เท้าเล่นแต่ในระยะแรกของการเล่นฟุตบอลจะเล่นกันเป็นกลุ่มๆ เฉพาะพวกคนธรรมดาเท่านั้น ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เล่น ประตูจะห่างกันเป็นไมล์ และใช้เวลาในการเล่นหลายชั่วโมง จะเป็นการเล่นระหว่างทหารใหม่ที่ถูกเกณฑ์ นักบวช คนที่แต่งงานแล้ว คนโสด และพวกพ่อค้า เกมชนิดได้กลายเป็นสิ่งฉลองในงานพิธีต่างๆ เช่น ในวัน  โชรพ ทิวส์เดย์ (Shrove Tuesday) จะมีฟุตบอลนัดสำคัญให้คนได้ชม เกมในสมัยนั้นจะเล่นกันอย่างรุนแรงและมีการบาดเจ็บกันมาก

ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 1857 พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 2 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกา

เนื่องจากมีเสียงอึกทึกครึกโครมจาการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุมากมาย
อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า โดยห้ามเล่นกีฬาดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก

ประวัติกีฬาฟุตบอล


         ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน
เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี
ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio)
มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่า
กีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง 
         ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่ม กติการการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลใน พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431
          วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น   สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา "แกลโล-โรมัน" (Gello-Roman) พร้อมกีฬาต่างๆ เข้ามาสู่เมืองกอล (Gaul) อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอ

สโมสร เอฟเวอร์ตัน


ชื่อเต็มEverton Football Club
ฉายาThe Toffees, The Blues
ก่อตั้งค.ศ. 1878
สนามกีฬากูดิสันพาร์ค
ลิเวอร์พูล
(ความจุ: 40,260 คน)
ประธานบิลล์ เคนไรต์
ผู้จัดการเดวิด มอยส์
ลีกเอฟเอ พรีเมียร์ลีก
2007-08พรีเมียร์ลีก อันดับที่ 5
สีชุดทีมเหย้า
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม


         
สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน
 เป็นสโมสรฟุตบอลหนึ่งในเมืองลิเวอร์พูล ก่อตั้งเมื่อค.ศ. 1878 เป็นสโมสรที่มีประวัติอันยาวนานมากที่สุดสโมสรหนึ่งในอังกฤษ ลงเล่นลีกสูงสุดถึง 103 ฤดูกาล (จาก 107 ฤดูกาล) และเคยชนะด้วยคะแนนมากที่สุดในลีกสูงสุดของประเทศ

เอฟเวอร์ตันเป็นคู่ปรับร่วมเมืองของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล สนามประจำทีมเอฟเวอร์ตันชื่อ กูดิสัน พาร์ค ซึ่งห่างจากสนามของลิเวอร์พูลเพียงแค่สวนสาธารณะกั้น แฟนบอลชาวไทยตั้งฉายาให้ว่า ท็อฟฟี่สีน้ำเงิน ปัจจุบันอยู่ภายใต้การทำทีมของเดวิด มอยส์


ประวัติ

    สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันเป็นสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นในปี 1878 โดยใช้ชื่อว่า เซนต์โดมิงโก เอฟซี ตามชื่อโบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองลิเวอร์พูล และเปลี่ยนชื่อเป็น เอฟเวอร์ตัน เอฟซี ในปี 1884 และใช้สนามแอนฟิลด์ โรด เป็นสนามเหย้า โดยมี จอห์น โฮลดิง ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองลิเวอร์พูลและสมาชิกสภาผู้แทนพรรคอนุรักษ์นิยม เป็นประธานสโมสร
    เอฟเวอร์ตัน คว้าแชมป์แรกได้ในฤดูกาล 1890-1891 ซึ่งในปีนั้น "ทอฟฟี่สีน้ำเงิน" มีชุดทีมเป็นเสื้อสีชมพูอ่อน กางเกงสีฟ้า ถุงเท้าสีฟ้า และต่อมากลุ่มแฟนบอล เอฟเวอร์ตัน ได้เรียกร้องให้ใช้เสื้อสีน้ำเงิน กางเกงสีขาว ถุงเท้าสีขาว เป็นชุดประจำสโมสรมาจนถึงปัจจุบัน
    เมื่อวันที่ 15 มี.ค.1892 ผู้บริหารสโมสรได้ตัดสินใจปลด จอห์น โฮลดิง ออกจากตำแหน่งและได้ย้ายทีมเอฟเวอร์ตันไปยังฝั่งตะวันตกของ สแตนลีย์ ปาร์ค ซึ่งในสมัยนั้นเรียกพ้นที่บริเวณนั้นว่า กรีน เมอร์ ต่อมาสนามแห่งนั้นถูกเรียกชื่อตามถนน เป็น กูดิสัน ปาร์ค จนถึงปัจจุบัน
    ในฤดูกาล 1893-1894 แจ็ค เซาธ์เวิร์ธ เป็นดาวยิงสูงสุดของลีกอังกฤษ ด้วยจำนวน 27 ประตู ซึ่งอดีตนักเตะ แบล็คเบิร์น โรเวอร์ รายนี้ถือเป็นดาวซัลโวสูงสุดรายแรกของเอฟเวอร์ตัน
    ฤดูกาล 1927-1928 (หลังสงครามโลกครั้งที่ 1)เอฟเวอร์ตัน ได้สร้างสถิติที่ไม่มีใครลบได้จนถึงปัจจุบัน เมื่อ ดิ๊กซี่ ดีน กองหน้าชาวอังกฤษ ผลิตสกอร์ให้กับสโมสรได้ถึง 60 ประตูในหนี่งฤดูกาล และเป็นสถิติการทำประตูในหนึ่งฤดูกาลที่มากที่สุดในลีกอังกฤษ
    เอฟเวอร์ตัน เริ่มต้นยุคใหม่ในปี 1961 (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2)เมื่อได้จอห์น มัวส์ มหาเศรษฐีชาวเมืองลิเวอร์พูล ที่เป็นเจ้าของกิจการลิต เติลวูด พูล และ ธุรกิจการส่งของทางอากาศ เป็นประธานสโมสร โดยมี แฮร์รี แคทเทอร์ริค เป็นผู้จัดการทีม ซึ่ง เอฟเวอร์ตัน ยุคนั้นมี โฮเวิร์ด เคนดัลล์, อลัน บอลล์ และ โคลิน ฮาร์วีย์ เป็นกำลังสำคัญซึ่งทั้ง 3 พาทีมครองแชมป์ลีกสูงสุดของอังกฤษได้อีกครั้งในฤดูกาล 1962-1963 ก่อนที่ แฮร์รี แคตเทอร์ริค จะลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมเนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ
    หลังจากนั้น บิลลี บิงแฮม ได้ทำหน้าที่ผู้จัดการทีมแทน แคตเทอร์ริค แต่เอฟเวอร์ตัน ก็ไม่เคยคว้าแชมป์ได้เลยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่คุมทีม จนในที่สุดบอร์ดบริหารได้ตัดสินใจปลด บิงแฮม ออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง กอร์ดอน ลี มารับตำแหน่งแทน แต่ผลงานโดยรวมของ เอฟเวอร์ตัน ก็ไม่ดีขึ้นแต่งอย่างใด
    ในช่วงทศวรรษที่ 1980-1990 เป็นการกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งของทีมสีน้ำเงิน เมื่อ ฟิลิป คาร์เตอร์ เข้ามารับตำแหน่งประธานสโมสร แทนที่จอห์น มัวร์ส และได้ดึง โฮเวิร์ด เคนดัลล์ เป็นผู้จัดการทีม โดยที่ เคนดัลล์ นำความสำเร็จมาสู่เอฟเวอร์ตันอีกครั้ง โดยพาทีมคว้าแชมป์ เอฟ เอ คัพ ในปี 1984 และสามารถเอาชนะลิเวอร์พูลในศึกแชริตี้ ชิลด์ ปีถัดมายังได้แชมป์ดิวิชั่น1 มาครอง ในปี 1984-1985 โดยทิ้งลิเวอร์พูลอันดับ 2 ถึง 13 แต้ม และคว้าแชมป์ยูโรเปี้ยนส์คัพวินเนอร์คัพมาครอง ด้วยการ ถล่มบาร์เยิร์น มิวนิค 3-1
    ทศวรรษที่ 1990 เอฟเวอร์ตัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงประธานสโมสรอีกครั้งโดยมี ปีเตอร์ จอห์นสัน เข้ามาบริหารงาน และได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีมเป็น โจ รอยส์ , โคลิน ฮาร์วีย์ และ โฮเวิร์ด เคนดัลล์ ซึ่งทั้งหมดคือดีตนักเตะของทีมนั่นเอง แต่ผลงานของทีมก็ไม่ดีขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลาดังกล่าวทีมได้แชมป์ เอฟ เอ คัพ ในปี 1995 เท่านั้น
    จนกระทั่งปี 1999 บิลล์ เคนไรท์ ได้เข้ามารับตำแหน่งประธานสโมสรและได้แต่งตั้ง วอลเตอร์ สมิธ เป็นผู้จัดการทีม จนถึงปี 2002 เอฟเวอร์ตัน ก็ได้ตัว เดวิด มอยส์ เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ โดยในฤดูกาลแรก เดวิดมอยส์ พาเอฟเวอร์ตัน หนีตกชั้นได้สำเร็จโดยจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 15 ฤดูกาลต่อมาก็พาทีม สร้างผลงานอันสุดยอดโดยการ จบฤดูกาลด้วยอันดับ 7 แม้ว่าฤดูกาลต่อมานักเตะจะเล่นด้วยความรู้สึกเหมือนไร้หัวใจ จนเกือบตกชั้นโดยมีคะแนนอยุ่เหนือโซนตกชั้น เพียง 3 คะแนน และเริ่มฤดูกาล 2003-2004 โดยการสูญเสียดาวยิงที่เป็นความหวังของทีม อย่าง เวน รูนี่ย์ ไปให้แก่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แต่เดวิดมอยส์กลับสร้าง เซอร์ไพร์ ด้วยการพาทีมจบฤดูกาล ด้วยอันดับที่ 4 คว้า ตั๋วใบสุดท้าย ไปเล่น แชมเปียนลีกรอบคัดเลือก และสร้างความหวังให้แก่สาวกของเอฟเวอร์โตเนี่ยนทั้งปวง แต่ต้องผิดหวัง เมื่อไม่ผ่านรอบคัดเลือก แถมยัง กระเด็นตกรอบยูฟ่าคัพอีกด้วย และเป็นฤดูกาลที่น่าเจ็บ ปวด เมื่อพบว่า ฤดูกาล 2004 - 2005 นั้นไม่เป็นอย่างที่หวัง เพราะเอฟเวอร์ตันออกตัวได้อย่างย่ำแย่ โดยไม่เหลือเค้าทีมที่เคยคว่าอันดับ 4 เมื่อฤดูกาลก่อน จนมีเสียงวิพากวิจารณ์การทำงานของเดวิดมอยส์ และเสียงเรียกร้องจากแฟนบอลทั่วโลกให้ปลดมอยส์ออก แต่อย่างไรก็ตาม บร์อดบริหาร ยังคงไว้ใจให้เขาทำหน้าที่ผู้จัดการทีมต่อไป และ เดวิดมอยส์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความสามารถที่แท้จริงของเขา เมื่อสามารถทำให้เอฟเวอร์ตัน จบฤดูกาล ได้ด้วยอันดับที่ 11 ฤดูกาล 2006-2007 เอฟเวอร์ตัน ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเองให้กลายเป็นทีมระดับต้นๆของอังกฤษ ภายใต้การทำทีมของเดวิดมอยส์ เขาเสาะหานักเตะฝีเท้าดีราคาถูกเข้ามาสู่ทีม อย่างไม่ขาดสาย และผลงานของเอฟเวอร์ตันดีวันดีคืน จนกระทั่ง สามารถ จบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 6 คว่าโควต้าไปเล่น ยูฟ่าคัพได้สำเร็จ และ และเริ่มต้นฤดูกาลด้วยความร้อนแรง จนสร้างความหวังให้แก่สาวกเอฟเวอร์โตเนี่ยน ว่า ความยิ่งใหญ่กำลังจะกลับมา และทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ใน ถ้วย ยูฟ่า คัพ ด้วยการผ่านรอบแบ่งกลุ่ม ด้วยการเก็บ 12 คะแนนเต็ม เดวิด มอยส์ทำหน้าที่ผู้จัดการทีมได้อย่างยอดเยี่ยมมาจนถึงปัจจุบัน และกล้าประกาศตัวที่จะคว้าโควต้า ไปเล่น ฟุตบอล ยูฟ่า แชมเปียน ลีก โดยการจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 4 เป็นอย่างน้อย ซึ่ง พัฒนาการของทีมที่เห็นเป็นรูปธรรมนั้น ทำให้แฟนบอลเชื่อมั่นว่า เอฟเวอร์ตันกำลังเข้าสู่ยุครุ่งเรือง เมื่อเดวิด มอยส์ ส่งสัญญาณการคุมทีมระยะยาว โดยการคัดเลือกดาวรุ่งฝีเท้าดีเข้ามาเติมเต็มถิ่นกูดิสัน ปาร์กอย่างต่อเนื่อง ภายใต้วิสัยทัศน์ และสติปัญญาของเดวิดมอยส์ ที่ เน้นคุณภาพ ในราคาประหยัด ตามลักษณะนิสัยโดยทั่วไปของชาวสก๊อต นั่นทำให้ เอฟเวอร์ตันเป็นอีกทีมหนึ่งที่มีอนาคตสดใสทีเดียวและในฤดูกาล2008-2009 เอฟเวอร์ตันสามารถผ่านเข้าไปรอบชิงชนะเลิศฟุตบอล เอฟเอคัพได้สำเร็จแต่ก็พลาดท่าแพ้เชลซีไป2-1และจบฤดูกาลได้อันดับ5ได้โควตาไปเล่นยูฟ่าคัพซึ่งทำให้ความคาดหวังของแฟนเชียร์สูงขึ้นมากแต่ในฤดูกาล2009/2010 เอฟเวอร์ตันเริ่มนัดแรกด้วยการแพ้อาร์เซนอลชนิดว่าไม่มีลุ้น6-1 ทำให้มอยส์เริ่มดึงตัวนักเตะราคาแพงอย่าง ดินิยาร์ บิลยาเลตดินอฟ ปีกทีมชาติรัสเซีย จอห์น ไฮติงก้า กองหลังทีมชาติฮอลแลนด์ เป็นต้น และเอฟเวอร์ตันก็ผลงานดีขึ้นเรื่อยๆซึ่งในฤดูกาลนี้มีสิ่งที่น่าจดจำคือหลุยส์ซาฮา อดีตกองหน้าแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ยิง 2ประตูให้เอฟเวอร์ตันพลิกชนะเชลซี 2-1พร้อมกับการแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวของแจ็ค ร็อดเวลล์และแดน กอสลิ่ง2ดาวรุ่งของเอฟเวอร์ตันซึ่งยิงให้ทีมชนะแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด 3-1 โดยในเกมส์ดังกล่าวดินิยาร์ บิลยาเลตดินอฟ ได้ทำประตูด้วยซึ่งทั้งสองเกมส์เกิดขึ้นในสองสัปดาห์ติดกัน


    เกียรติประวัติ

    • แชมป์ดิวิชั่นหนึ่ง (เดิม): 9 ครั้ง
    • 1890–91, 1914–15, 1927–28, 1931–32, 1938–39, 1962–63, 1969–70, 1984–85, 1986–87
    • แชมป์เอฟเอคัพ: 5 ครั้ง
    • 1906, 1933, 1966, 1984, 1995
    • แชมป์แชลิตี ชิลด์: 9 ครั้ง
    • 1928, 1932, 1963, 1970, 1984, 1985, 1986 (shared), 1987, 1995
    • แชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ วินเนอร์สคัพ: 1 ครั้ง
    • 1985
    • แชมป์ดิวิชั่น 2(เดิม): 1 ครั้ง
    • 1930–31
    • แชมป์เอฟเอ ยูธ คัพ: 3 ครั้ง
    • 1965, 1984, 1998
    • แชมป์ลิเวอร์พูล ซีเนียร์ คัพ: 45 ครั้ง
    • 1884, 1886, 1887, 1890, 1891, 1892, 1894, 1895, 1896, 1898, 1899, 1900, 1904, 1906, 1908, 1910 (shared), 1911, 1912 (shared), 1914, 1919, 1921, 1922, 1923, 1924, 1926, 1928, 1934 (shared), 1936 (shared), 1938, 1940, 1945, 1953, 1954, 1956, 1957, 1958 (shared), 1959, 1960, 1961, 1982 (shared), 1983, 1996, 2003, 2005, 2007.


    ผู้เล่นชุดปัจจุบัน


    หมายเลขตำแหน่งผู้เล่น
    1ธงชาติของสโลวาเกียGKแยน มูค่า
    2ธงชาติของอังกฤษDFโทนี่ ฮิบเบิร์ต
    3ธงชาติของอังกฤษDFเลห์ตัน เบนส์
    6ธงชาติของอังกฤษMFฟิล จากีลก้า
    7ธงชาติของรัสเซียMFดินิยาร์ บิลยาเลตตินอฟ
    8ธงชาติของฝรั่งเศสFWหลุยส์ ซาฮา
    10ธงชาติของสเปนMFมิเคล อาร์เตต้า
    12ธงชาติของอังกฤษGKเอียน เทอร์เนอร์
    14ธงชาติของอังกฤษFWเจมส์ วอห์น
    15ธงชาติของฝรั่งเศสDFซิลแว็ง ดิสแต็ง
    16ธงชาติของอังกฤษFWเจอร์เมน เบ็คฟอร์ด
    17ธงชาติของออสเตรเลียMFทิม เคฮิลล์
    18ธงชาติของอังกฤษMFฟิล เนวิลล์ (กัปตันทีม)
    19ธงชาติของอังกฤษMFแดน กอสลิ่ง
    21ธงชาติของอังกฤษMFลีออน ออสแมน
    22ธงชาติของไนจีเรียFWยาคูบู ไอเย็กเบนี่
    24Flag of the United StatesGKทิม ฮาวเวิร์ด
    25ธงชาติของเบลเยียมMFมารูยาน เฟลไลน์นี่
    26ธงชาติของอังกฤษDFแจ็ค ร็อดเวลล์
    28ธงชาติของไนจีเรียFWวิคเตอร์ อนิเชเบ้
    ธงชาติของออสเตรเลียDFลูคัส นิลล์
    Flag of the NetherlandsDF
    จอร์นนี่ ไฮติงก้า